วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ศาสนาสิกข์

ศาสนาสิกข์ หรือ ซิกข์



ประวัติศาสนา

    ศาสนาสิกข์ (คำว่า สิกข์ มาจากภาษาบาลี สิกขา แปลว่า การศึกษา การฝึกหัด) เป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นใหม่ (อันเนื่องมาจากศาสนาอิสลาม ในยุคของราชวงศ์โมกุลเข้าครองชมพูทวีป ทำลายล้างประชาชนชาว ชมพูทวีปที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามเสียหมด หากผู้ใดหันมานับถืออิสลาม ก็ยกเว้น ไม่ฆ่า  จนทำให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย อันเนื่องมาจาก ศาสนาพุทธ ไม่ถืออาวุธเข้าหั้มหั่นเหมือนศาสนาอื่น ๆ  แต่มีศาสนาหนึ่ง คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ยกอาวุธขึ้นสู้กับศาสนาอิสลามจนถึงทุกวันนี้ อันเป็นเหตุให้ชมพูทวีปแบ่งแยกออกเป็นหลายประเทศ เช่น  อัฟกานิสถาน  ปากีสถาน  เนปาล  บังคลาเทศ ฯลฯ) ซึ่งเป็นศาสนาของชาวอินเดีย ที่เห็นร่วมกันว่า ควรจะมีการทำให้ชาวอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลาม มีความสมัครสมาน และสามัคคีกัน โดยกำหนดให้มี พระเจ้าองค์เดียว  ไม่มีพระเป็นเจ้าของมุสลิมองค์หนึ่ง ของฮินดูองค์หนึ่ง หรือของคริสต์องค์หนึ่ง (พึงสังเกตว่า ไม่มีศาสนาพุทธ เนื่องจากสูญสิ้นไปจากอินเดียแล้ว อันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว) แต่มนุษยชาติ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว


     ผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์  ในระยะแรกต้องประกอบพิธี "ปาหุล" ก่อน แล้วจะได้นามพิเศษต่อท้ายชื่อว่า "สิงห์" หรือ "ซิงห์" และจะได้รับ 5 สิ่ง ที่เรียกว่า "กกะ" คือ

  1. เกศ  คือ  การไว้ผมยาว โดยไม่ต้องตัดเลย
  2. กังฆา  คือ  หวีขนาดเล็ก
  3. กฉา  คือ  กางเกงขาสั้น
  4. กรา  คือ  กำไลมือทำด้วยเหล็ก
  5. กฤปาน  คือ  ดาบ
     ศาสนาดของศาสนาสิกข์ หรือเรียกว่า "คุรุ" มีทั้งหมด  11  องค์  องค์แรก และมีความสำคัญที่สุด ชื่อ คุรุนานัก  ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวปี พ.ศ. 2012 - 2082 ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ แต่มีฐานะยากจน  เกิดที่แคว้นปัญจาบ  บิดาชื่อ กาลุ  มารดาชื่อ  ตฤปตา  ท่านมีความรู้แตกฉานในคัมภีร์พระเวท ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ก็สามารถโต้เถียงกับครูบาอาจารย์เรื่องพระเป็นเจ้าได้ จนอายุ 8 ขวบ ก็เริ่มศึกษาความเป็นมา และศาสนาของเพื่อนบ้าน และสามารถสั่งสอนคนได้ ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ต่อมาสมรสกับนางสุลักขณี มีบุตร 2 คน คือ ศรีจันทร์ กับ ลักษมิทาส

     ต่อมาได้เข้าไปทำสมาธิอยู่ในป่า จนสามารถได้รับปรากฏการณ์ทางจิต และได้เห็นพระเป็นเจ้า จึงกลับมาบ้านแจกทานแก่คนยากจน ให้ยาและรักษา พยาบาลคนเจ็บป่วย  ท่านได้เดินทางไปเผยแผ่คำสอนยังเมืองต่าง ๆ  จนมีลูกศิษย์ มากมาย ทั้งที่เป็นฮินดูและมุสลิม ท่านได้นำหลักธรรมที่สำคัญคือ "สามัคคี เสมอภาค ศรัทธา  และภักดี ในพระเจ้า" ไปสั่งสอนยังเมืองต่าง ๆ  ทั้งในอินเดีย ลังกา อาระเบีย เมืองเมกกะ และแบกแดดด้วย
ต่อมามีคุรุอีก 9 องค์ คือ อังคัท  อมรทาส รามทาส  อรชุน  หริโควินทร์  หริไร  หิรกฤษัน  เตฆพหทุร์  และโควินทสิงห์ (พึงสังเกต จะมีชื่อของเทพในศาสนาฮินดู ด้วย คือ ราม ในรามทาส หริ ซึ่งหมายถึงพระอินทร์ ในหริโดวินทร์ และหริไร)


สัญลักษณ์
:
คันด้า เป็นเครื่องหมายเกียรติยศ ของชาวซิกข์ สัญลักษณ์นี้ ประกอบด้วยกีรปานสองด้าม (ดาบของชาวซิกข์) คันด้าหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักรหรือห่วงกลมภายใน  หนึ่งอัน
ความหมาย
:
ดาบทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจ อธิปไตย ทั้งทางโลก และทางธรรมอย่างสมบูรณ์ วงจักรแสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าผู้ทรงสร้าง และให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม ฉะนั้นอำนาจอธิปไตย ความเป็นอมตะ (ของพระผู้เป็นเจ้า) และความเป็นผู้ริเริ่ม บุกเบิก คือ หลักการและสัญลักษณ์พื้นฐาน ที่สำคัญของความเป็นชนชาติซิกข์

พระคัมภีร์ของศาสนาสิกข์

  พระมหาคัมภีร์ของศาสนาสิกข์คือ อาดิครันถ์ เป็นที่รวมของพระธรรม บทสวดภาวนา สดุดีพระผู้เป็นเจ้า โดยพระศาสดาของสิกข์ และนักบวช นักบุญ และนักปราชญ์ ของอินเดียในสมัยนั้น ประดุจศูนย์ รวมของข้อปฏิบัติทางศาสนาและจิตใจ

หลักคำสอน

  ความเชื่อถือพื้นฐานของสิกข์ คือ มูลมันตระบทสวดขั้นมูลฐาน” (ข้อมูลแห่งมนตรประเสริฐบทสวดนี้เป็นบทสวดปฐม บทแรกเริ่มต้นในพระมหาคัมภีร์คุรครันถ์ซาฮิบ ประพันธ์โดยพระศาสดาคุรุนานัก เป็นบทสรุปและรากฐานแห่งความเชื่อถือของชาวสิกข์ ชาวสิกข์จะสวดภาวนาบทสวดนี้ทุกวัน

พิธีกรรมที่สำคัญ

      จุดมุ่งหมายที่สำคัญของศาสนาสิกข์ คือ ต้องการให้ทุกคน ที่นับถือสิกข์ มีความรู้สึกต่อกันฉันพี่น้อง เป็นการสร้าง "ภราดรภาพ" ขึ้นหมู่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาร่วมกัน โดยไม่มีการถือชาติชั้นวรรณะ  พิธีกรรมที่สำคัญ จึงมุ่งอยู่ที่ ความเสมอภาคและความสามัคคี  ได้แก่
  1. สังคีต  หมายถึง  การชุมนุมผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์ร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดการสามัคคี ในที่ชุมนุมนี้ ทุกคนจะต้อง ช่วยตัวเอง เหมือนกันหมด ไม่มีนายไม่มีบ่าว คนที่ไม่เคย ทำงานด้วยตัวเอง  เมื่อเข้ามาสู่พิธีนี้แล้ว จะต้องทำเองทุกอย่าง
  2. อมฤตสังสการ หมายถึง พิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาสิกข์ เพราะเหตุที่ศาสนานี้ เกิดจากการประยุกต์ ศาสนาอิสลาม กาับศาสนาฮินดูเข้าด้วยกัน ดังนั้น ผู้ที่ถือศาสนาสิกข์ จึงอาจนับถือศาสนาใดมาก่อนก็ได้ แต่เมื่อเข้ามาสู่ศาสนานี้ แล้ว ต้องเลิกปรัมปราประเพณีต่าง ๆ  ที่เจยยึดถือมาให้หมด เช่น เมื่อนับถือศาสนาพราหมณ์ อาจดูถูกดูหมิ่นพวกศูทรว่า เป็นกาลกิณี เป็นบุคคลที่ไม่พึงแตะต้อง หรือพวกพราหมณ์ ต้องปรุงอาหารรับประทานเอง จะรับประทานอาหาร ที่คนในวรรณอื่นปรุงขึ้นไม่ได้ หรือผู้ที่นับถือศาสนา อิสลาม จะต้องทำนมาซวันละ  5 ครั้ง ต้องรับประทาน เนื้อสัตว์ ที่มุสลิมเป็นผู้ฆ่า เป็นต้น เมื่อมานับถือศาสนาสิกข์ นั้น ทุกคนจะนั่งร่วมกันในสถานที่แห่งเดียวกัน หยิบอาหาร ใส่ปากกันและกันได้ ถ้าหากยังรังเกียจกันอยู่ ก็เชื่อว่า ยังไม่เป็นสิกข์ เป็นต้น

จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาสิกข์

  ศาสนาสิกข์มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร ที่ชาวสิกข์ทุกคนปรารถนาจะดำเนินไปถึง คือ ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของพระเจ้า หรือได้รับพระมหากรุณาจากพระเจ้า วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางนั้นได้ก็ต้องบูชาพระเจ้า สวดเพลงสรรเสริญพระนาม และการฟังพระนาม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น