ศาสนาเชน
รูปปั้นพระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน |
ศาสนาเชนเกิดก่อนพุทธศาสนาเล็กน้อย เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดูในด้าน คำสอน ความเชื่อถือ และศาสนาพิธี ตลอดทั้งปฏิเสธเรื่องพระเจ้า เป็นศาสนาอเทวนิยม ศาสนาเชนสอนเน้นหนักในการบำเพ็ญทุกรกิริยา
คำว่า “เชน” บางทีออกเสียงว่า ไชน์ หรือ ไยน์ มาจากคำว่า “ชินะ” แปลว่า “ผู้ชนะ” เพราะฉะนั้น ศาสนาเชนจึงหมายความว่าศาสนาแห่งผู้ชนะ ( ชนะตนเอง )
มหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนมีนามเดิมว่า วรรธมานะ แปลว่า ผู้เจริญ ประสูติ ณ นครเวสารี แคว้นวัชชี ในภาคเหนือ ของอินเดีย ในราว 635 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในวันประสูติของเจ้าชายวรรธมานะ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชที่นครเวสารีอย่างใหญ่โต มโหฬาร พระเจ้ากรุงเวสาลีทรงบำเพ็ญทานโปรดให้แจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคแก่คนยากไร้อนาถา และให้ประกาศนิรโทษแก่นักโทษที่ถูกจองจำ ยิ่งกว่านั้นบรรดา นักพรตและเหล่า พราหมจารย์ ต่างก็ได้พยากรณ์ ว่า เจ้าชายจะทรงเป็นผู้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่ โดยมีคติเป็น 2 คือ
1. ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิ
2. ถ้าทรงออกผนวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
ศาสดาของศาสนาเชน
พระมหาวีระผู้ชนะได้ใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 ปี ทรงประชวรหนัก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง จึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้ายพระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระมหาวีระได้กระทำการฌาปนกิจที่เมืองปาวา จึงเป็นสังเวชนียสถาน ที่ควรไปดูไปทำสักการะ
คัมภีร์องศาสนาเชน
คัมภีร์ของศาสนาเชนชื่อ อาคมะ ตามหลักฐานปรากฏว่าได้จารึกเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200ปี
ภายหลังสมัยของพระมหาวีระ ส่วนคำอธิบายคัมภีร์ และวรรณคดีของเชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็น
ภาษาสันสกฤต
หลักคำสอนสำคัญบางประการของศาสนาเชน
อนุพรต
อนุพรต คือ ข้อปฏิบัติพื้นฐาน มี 5 ประการที่สอนให้งดเว้นสิ่งที่ไม่ดี คือ
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียนให้คนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น
2. สัตยะ การไม่พูดเท็จ
3. อัสตียะ การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ เว้นจากการประพฤติชั่วทางกาย
5. อัปริคคหะ ความไม่โลภ
มหาพรต
ข้อปฏิบัติสำคัญและยิ่งใหญ่
1. สัมยัคทรรศนะ ความเชื่อที่ถูกต้อง
2. สัมยัคญาณะ ความรู้ที่ถูกต้อง
3. สัมยัคยาริตะ ความประพฤติที่ถูกต้อง
พิธีกรรมของศาสนาเชน
การบวชเป็นบรรพชิต เป็นการเปลี่ยนแปลงภาวะของคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต ครองผ้า 3 ผืน ต้องโกนผมด้วยวิธี ถอนผมตนเอง ฉันอาหารเท่าที่แสวงหามาได้การถืออัตตกิลมถานุโยค ศาสนาเชนถือว่าการทรมานตนให้ได้รับการลำบากต่างๆ เช่นการอดอาหาร การไม่พูดจากับใครจะสามารถทำให้บรรลุโมกษะ
จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาเชน
ศาสนาเชนมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ นิรวารณะ หรือโมกษะ (ความหลุดพ้น)
ผู้หลุดพันจากเครื่องผูก คือ กรรม ได้ชื่อว่า สิทธะ หรือ ผู้สำเร็จ เป็นผู้ไม่มีชั้นวรรณะ ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อกลิ่น ปราศจากความรู้สึกเรื่องรส ไม่มีความรู้สึกที่เรียกว่า เวทนา ไม่มีความหิว ความเจ็บปวด ความเสียใจ ความดีใจ ไม่เกิด แก่ ตาย ไม่มีรูป ไม่มีร่างกาย ไม่มีกรรม เสวยความสงบอันหาที่สุดมิได้ วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางนั้นจะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานที่เรียกว่า อนุพรต 5 จนถึงอย่างสูงที่เป็นข้อปฏิบัติอันยิ่งใหญ่และสำคัญคือ มหาพรต 3
นิกายสำคัญของศาสนาเชน
ศาสนาเชนมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย
1. นิกายเศวตัมพร นิกายนุ่งผ้าขาว ถือว่าสีขางเป็นสีบริสุทธิ์
2. นิกายทิคัมพร นิกายนุ่งลมห่มฟ้า ( เปลือยกาย)
สัญลักษณ์ของศาสนาเชน
สัญลักษณ์โดยตรงของศาสนาเชนก็คือ รูปปฏิมาของศาสดามหาวีระ ซึ่งในโบสถ์หรือในวัดเชนทั่ว ๆ ไปจะมีรูปปฏิมาของศาสดาประดิษฐานอยู่ หรือภายในบ้านของศาสนิกชนเชนก็มีรูปปฏิมาโลหะไว้บูชาเช่นเดียวกับชาวพุทธมีพระพุทธรูปไว้บูชาทั้งในบ้าน ในวัด โรงเรียน และในโบสถ์ รูปปฏิมาของศาสดามหาวีระที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ที่ประดิษฐานที่เมืองโลหะนิปุระ ใกล้ ๆ กับเมืองพิหาร หล่อขึ้นมาในสมัยราชวงศ์เมารยะ และได้ขุดค้นพบที่เมืองกันกาลิทิลา แคว้นมธุระ มากมาย รูปปฏิมาในยุคแรก ๆ ทุกองค์ไม่สวมเสื้อผ้า รูปปฏิมาอีกรูปที่หล่อด้วยทองสำริดอายุเก่าแก่ที่สุด พบได้ในพิพิธภัณฑ์ปรินซ์ออฟเวลล์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น